คำนวณน้ำหนักเด็ก
การวัดความเจริญเติบโตในเด็กแต่ละคนว่าปกติหรือไม่ เราจะสามารถทำได้ ด้วยการเปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของเด็กคนอื่นๆ ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักที่คิดเป็นร้อยละหรือที่เรียกกันว่า “เปอร์เซ็นต์ไทล์” ที่เป็นเส้นกราฟบนตารางการเจริญเติบโต (แยกเป็นเด็กหญิงและเด็กชาย) โดยจะมีบันทึกอยู่ในสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของลูกน้อย และสามารถดูได้จากกราฟหรือตารางในหน้าเพจนี้ หรือใช้โปรแกรมคำนวณน้ำหนักเด็กที่เราเตรียมไว้ให้ โดยใส่เพศ วันเดือนปีเกิด และน้ำหนักปัจจุบันลงไป โปรแกรมจะแสดงน้ำหนักที่เหมาะสม รวมทั้งพล็อตลงในกราฟให้ดู เพื่อให้คุณสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักของเด็กของคุณกับค่ามาตรฐานได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมคำนวณน้ำหนักเด็ก
น้ำหนักเด็ก อายุ 0-36 เดือน (0-3 ปี)
น้ำหนักของทารกแรกเกิดจะมากหรือน้อยมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม ความแข็งแรงของตัวอ่อน โภชนาการ และสิ่งแวดล้อมของแม่ โดยน้ำหนักจะมากหรือน้อยจะมีผลส่วนหนึ่งจากอายุครรภ์เมื่อแรกคลอดที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่น เด็กที่คลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์จะมีน้ำหนักแรกคลอดที่ไม่เท่ากับทารกที่คลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 40 สัปดาห์ เป็นต้น
ซึ่งนอกจาก น้ำหนักของเด็กทารกเมื่อแรกเกิดแล้ว เราจะรู้ได้ว่าลูกตัวโตแค่ไหน ด้วยการเปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของเด็กทั่วไป ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักที่คิดเป็นร้อยละหรือที่เรียกกันว่า “เปอร์เซ็นต์ไทล์” ที่เป็นเส้นกราฟบนตารางการเจริญเติบโต (แยกเป็นเด็กหญิงและเด็กชาย) โดยจะมีบันทึกอยู่ในสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของลูกน้อย หรือกราฟด้านบนในหน้าเพจนี้ เมื่อนำน้ำหนักของลูกเราไปเทียบในกราฟแล้ว เราจะรู้ได้ว่าลูกเราโตหรือเล็กแค่ไหนเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเด็กทั้งประเทศ
เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P10) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 90 คนที่ตัวโตกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวเล็ก
เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P25) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 75 คนที่ตัวโตกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวค่อนข้างเล็ก (ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ หากสูงกว่า P10)
เด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P75) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 75 คนที่ตัวเล็กกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวค่อนข้างใหญ่
เด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P90) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 90 คนที่ตัวเล็กกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวใหญ่
เด็กที่มีน้ำหนักระหว่าง 10 – 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P10-P90) ก็จะถือได้ว่าเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
โดยสามารถดูตารางแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็ก ในช่วงอายุ 0-36 เดือน (0-3 ปี) ที่กราฟด้านบน หรือตารางด้านล่างนี้
ตารางแสดงน้ำหนักเด็ก อายุ 0-36 เดือน (0-3 ปี) (P10-P90)
อายุ | หญิง | ชาย |
---|---|---|
0 เดือน | 2.8 - 3.8 กก. | 2.9 - 4.0 กก. |
1 เดือน | 3.4 - 4.6 กก. | 3.6 - 4.8 กก. |
2 เดือน | 3.9 - 5.4 กก. | 4.3 - 5.6 กก. |
3 เดือน | 4.4 - 6.1 กก. | 4.9 - 6.4 กก. |
4 เดือน | 4.9 - 6.8 กก. | 5.4 - 7.1 กก. |
5 เดือน | 5.4 - 7.4 กก. | 5.9 - 7.7 กก. |
6 เดือน | 5.8 - 7.9 กก. | 6.4 - 8.4 กก. |
7 เดือน | 6.1 - 8.4 กก. | 6.8 - 8.9 กก. |
8 เดือน | 6.5 - 9.0 กก. | 7.2 - 9.4 กก. |
9 เดือน | 6.8 - 9.4 กก. | 7.6 - 10.0 กก. |
10 เดือน | 7.1 - 9.8 กก. | 7.8 - 10.3 กก. |
11 เดือน | 7.4 - 10.2 กก. | 8.0 - 10.7 กก. |
12 เดือน | 7.6 - 10.5 กก. | 8.3 - 11.1 กก. |
13 เดือน | 7.9 - 10.8 กก. | 8.5 - 11.4 กก. |
14 เดือน | 8.1 - 11.1 กก. | 8.7 - 11.8 กก. |
15 เดือน | 8.3 - 11.3 กก. | 8.9 - 12.1 กก. |
16 เดือน | 8.4 - 11.6 กก. | 9.1 - 12.4 กก. |
17 เดือน | 8.6 - 11.8 กก. | 9.2 - 12.7 กก. |
18 เดือน | 8.7 - 12.1 กก. | 9.4 - 13.0 กก. |
19 เดือน | 8.9 - 12.3 กก. | 9.6 - 13.3 กก. |
20 เดือน | 9.0 - 12.6 กก. | 9.8 - 13.5 กก. |
21 เดือน | 9.2 - 12.8 กก. | 9.9 - 13.8 กก. |
22 เดือน | 9.3 - 13.1 กก. | 10.1 - 14.1 กก. |
23 เดือน | 9.5 - 13.3 กก. | 10.3 - 14.3 กก. |
24 เดือน | 9.6 - 13.6 กก. | 10.4 - 14.6 กก. |
25 เดือน | 9.8 - 13.8 กก. | 10.6 - 14.8 กก. |
26 เดือน | 9.9 - 14.1 กก. | 10.7 - 15.1 กก. |
27 เดือน | 10.0 - 14.3 กก. | 10.8 - 15.3 กก. |
28 เดือน | 10.2 - 14.6 กก. | 11.0 - 15.5 กก. |
29 เดือน | 10.3 - 14.8 กก. | 11.1 - 15.8 กก. |
30 เดือน | 10.4 - 15.1 กก. | 11.3 - 16.0 กก. |
31 เดือน | 10.5 - 15.3 กก. | 11.4 - 16.2 กก. |
32 เดือน | 10.7 - 15.6 กก. | 11.5 - 16.5 กก. |
33 เดือน | 10.8 - 15.8 กก. | 11.7 - 16.7 กก. |
34 เดือน | 11.0 - 16.0 กก. | 11.8 - 16.9 กก. |
35 เดือน | 11.1 - 16.3 กก. | 11.9 - 17.1 กก. |
36 เดือน | 11.2 - 16.5 กก. | 12.1 - 17.3 กก. |
น้ำหนักเด็ก อายุ 3-19 ปี
น้ำหนักของเด็กจะมากหรือน้อยมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น ส่วนสูง พันธุกรรม โภชนาการ ความแข็งแรงหรือผิดปกติของร่างกาย โดยเราจะรู้ได้ว่าลูกตัวโตแค่ไหน ด้วยการเปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตของเด็กทั่วไป ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักที่คิดเป็นร้อยละหรือที่เรียกกันว่า “เปอร์เซ็นต์ไทล์” ที่เป็นเส้นกราฟบนตารางการเจริญเติบโต (แยกเป็นเด็กหญิงและเด็กชาย) โดยจะมีแสดงในกราฟด้านบนและตารางด้านล่างในหน้าเพจนี้ เมื่อนำน้ำหนักของลูกเราไปเทียบในกราฟแล้ว เราจะรู้ได้ว่าลูกเราโตหรือเล็กแค่ไหนเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเด็กทั้งประเทศ
เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P10) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 90 คนที่ตัวโตกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวเล็ก
เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P25) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 75 คนที่ตัวโตกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวค่อนข้างเล็ก (ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ หากสูงกว่า P10)
เด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P75) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 75 คนที่ตัวเล็กกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวค่อนข้างใหญ่
เด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P90) (หมายถึงมีเด็กอยู่ 100 คน จะมีเด็ก 90 คนที่ตัวเล็กกว่าลูกของเรา) จะถือว่าเป็นเด็กที่ตัวใหญ่
เด็กที่มีน้ำหนักระหว่าง 10 – 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ (P10-P90) ก็จะถือได้ว่าเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
โดยสามารถดูตารางแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็ก ในช่วงอายุ 3-19 ปี ที่กราฟด้านบน หรือตารางด้านล่างนี้
ตารางแสดงน้ำหนักเด็ก อายุ 3-19 ปี (P10-P90)
อายุ | หญิง | ชาย |
---|---|---|
3 ปี | 11.2 - 16.5 กก. | 12.1 - 17.3 กก. |
4 ปี | 12.8 - 19.5 กก. | 13.5 - 19.8 กก. |
5 ปี | 14.4 - 22.0 กก. | 15.0 - 22.7 กก. |
6 ปี | 16.0 - 25.0 กก. | 16.5 - 25.7 กก. |
7 ปี | 17.7 - 28.4 กก. | 18.0 - 29.0 กก. |
8 ปี | 19.5 - 32.5 กก. | 19.7 - 32.4 กก. |
9 ปี | 21.2 - 37.8 กก. | 21.3 - 36.4 กก. |
10 ปี | 23.2 - 42.5 กก. | 23.1 - 41.3 กก. |
11 ปี | 25.4 - 46.8 กก. | 25.0 - 46.0 กก. |
12 ปี | 28.2 - 50.4 กก. | 27.4 - 50.5 กก. |
13 ปี | 31.8 - 53.4 กก. | 30.3 - 54.6 กก. |
14 ปี | 35.2 - 55.8 กก. | 34.0 - 58.3 กก. |
15 ปี | 37.6 - 57.0 กก. | 38.4 - 61.6 กก. |
16 ปี | 39.4 - 57.8 กก. | 42.5 - 64.0 กก. |
17 ปี | 40.4 - 58.2 กก. | 45.1 - 65.7 กก. |
18 ปี | 41.0 - 58.6 กก. | 46.7 - 66.9 กก. |
19 ปี | 41.3 - 58.8 กก. | 47.7 - 67.3 กก. |
- - National Growth References for Children Under 20 Years of Age. 1999. Nutrition Division, Department of Health, Ministry of Public Health, Thailand.