ปัจจัยการเติบโตของสมองทารก

ปัจจัยการเติบโตของสมองทารก

บทความเกี่ยวกับ แม่และเด็ก
เผยแพร่เมื่อ 29 ม.ค. 2564 09:09 น.

ความลี้ลับของสมองมนุษย์ เป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ทำการค้นคว้ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นศูนย์รวมการควบคุมทุกส่วนของร่างกาย ความเก่ง ความอัจฉริยะ ไหวพริบ ความคิดสร้างสรรค์ ต่างๆ นาๆ มาจากการทำงานของสมองทั้งสิ้น แล้วการกระตุ้นการเติบโตสมองของลูกน้อยควรทำอย่างไรบ้าง

สมองของทารกประกอบไปด้วย...
สมองของเด็กแรกเกิดประกอบด้วย เซลล์ประสาท หนึ่งแสนล้านเซล และมีน้ำหนักเฉลี่ย 340 กรัม เซลเหล่านี้ยังมีการเชื่อมต่อกันน้อย เมื่อทารกอายุ 1 ปี น้ำหนักสมองจะเพิ่มเป็น 1,100 กรัม เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัวเลยทีเดียว การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้มีผลมาจากการขยายตัวของเซลประสาทและเพิ่มเครือข่ายเส้นใยเซลล์ประสาทไปเชื่อมต่อกับจุดต่างๆ ของเซลล์อื่นๆ ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทมากยิ่งขึ้น
สมองของทารกจะสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่ออย่างรวดเร็วภายใน 3 ปีแรก น้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่า 80% หากทารกได้รับการดูแลและกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธี เครือข่ายเส้นใยประสาทจะถูกสร้างขึ้นมากถึง หนึ่งล้านล้านเครือข่ายและหนึ่งล้านล้านจุดเชื่อมต่อ ซึ่งมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่าตัว ทักษะความสามารถด้านการเรียนรู้ ความจำ การคิด การใช้เหตุผล และพัฒนาการด้านต่างๆ จะมากขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยต่อการเติบโตของเซลล์ประสาทสมอง
นอกจากโภชนาการที่ครบถ้วนเหมาะสมตามวัยของทารกแล้ว ปัจจัยที่มีผลให้เซลล์ประสาทสมองเติบโตอย่างเต็มที่ เพิ่มเครือข่ายและจุดเชื่อมต่อของเส้นใยประสาท คือ กายสัมผัสทั้ง 5 + 1 นั่นคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย + ใจ

1. หู หมายถึงการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการได้ยินซึ่งสารมารถทำได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ เช่น การเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ เสียงธรรมชาติ เสียงการทำกิจวัตรประจำวัน การพูดคุยกับลูก ในเรื่องที่หลากหลาย การร้องเพลงให้ฟัง การอ่านหนังสือหรือนิทาน เป็นต้น

2. ตา หมายถึงการกระตุ้นประสาทสัมผัสทางการมองเห็น เด็กทารกมองเห็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และเมื่อคลอดมาแล้วกระตุ้นด้วยการใช้สีสันสดใสและความหลากหลายของอุปกรณ์เครื่องใช้ ของเล่น อาหาร ผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ

3. จมูก หมายถึงประสาทสัมผัสผ่านกลิ่น การฝึกให้เด็กได้สูดดมกลิ่นที่หลากหลาย หอมละมุน จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ประสาทสมองด้านนี้ได้

4. ลิ้น หมายถึงประสาทสัมผัสการลิ้มรสชาติต่างๆ ทั้ง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด โดยเพิ่มขึ้นทีละนิดตามอายุของเด็ก

5. กาย หมายถึงประสาทสัมผัสทางกายตั้งแต่หัวจรดเท้า เปิดโอกาสให้ลูกทดลองและเรียนรู้ทุกอย่างรอบตัว ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ดิน ทราย โคลน ก้อนหิน ต้นไม้ อาหาร เป็นต้น

6. ใจ หมายถึงความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จะทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย และมีความมั่นคงทางจิตใจและความรู้สึก ซึ่งจะถูกสะสมบ่มเพาะเป็นพื้นฐานนิสัยและบุคลิกภาพของเด็กตามมา
แหล่ะนี่ก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กแต่ละคนเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดความอ่านรวมถึงอุปนิสัยไม่เหมือนกันนั่นเองค่ะ !


บทความโดย Meemodel Team
Meemodel Team | ผู้เขียน

ทีมงาน meemodel ที่ชื่นชอบการเขียนบทความ และสนุกกับการใช้ชีวิต


บทความที่เกี่ยวข้อง




เว็บไซต์นี้ใช้ cookie เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รายละเอียด